Skip to content Skip to footer

[สรุป] CEO ทำหน้าที่อะไรกันแน่ และ CEO ที่ดีเป็นอย่างไร

รูปภาพปก summary-what-does-ceo-do

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า CEO จริง ๆ แล้วเขามี Job Description เป็นอย่างไร แล้วถ้าเราอยากจะเป็น CEO ที่ดีเลิศบางล่ะต้องทำอย่างไร ?

คุณเคน Nakarin Wanakijpaibul จาก The Standard ชวนคุณแยมจาก บริษัท McKinsey & Company (ประเทศไทย) มานั่งพูดคุยกันในรายการซีรีย์ใหม่ของ The Secret Sauce

ทำความรู้จักกับ McKinsey & Company

เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ มีมาร้อยกว่าปี ก่อนหน้านี้เป็นในรูปแบบให้คำปรึกษากับ CEO แล้วให้เขาไปปฏิบัติ (Execute) เอง แต่ปัจจุบันเป็น Impact Partner ที่ช่วยกันและร่วมปฏิบัติ

CEO อาจเป็นตำแหน่งหรืออาชีพนึงที่พิเศษที่ไม่ได้มีโรงเรียนไหนสอนให้เป็น CEO เหมือนกับดีไซน์ วิศวะ ถ้าใกล้เคียงหน่อยก็จะมี

MBA (Master of Business Administration) อาจเป็นเพราะว่า CEO มีรายละเอียดและต้องฝึกทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ

McKinsey ได้ทำงานร่วมกับ CEO มาเยอะมาก มี McKinsey Center for CEO Excellence ที่เป็น Center ที่ให้ CEO ที่มีประสบการณ์มาแชร์กัน เป็นลักษณะ peer-based learning

หนังสือแนะนำ “CEO Excellence”

หนังสือที่มาบอกว่าอะไรที่ทำให้ CEO ที่โดดเด่นนั้น แตกต่างจากคนอื่น ซึ่งเกิดจากการสะสมข้อมูล CEO จากทั่วโลกและเลือกมา 200 คนที่เป็น CEO ที่ยอดเยี่ยม โดยดูทั้งบริษัทและในมุมของ CEO

🧑‍💼 CEO ทำอะไรกันแน่ ? 🧑‍💼

6 บทบาทหน้าที่ที่ CEO excellence ต้องมี

  1. Set direction – กำหนดทิศทางให้กับองค์กร
  2. Align the Organization – ปรับองค์กรให้สอดคล้องเป้าหมายเช่น วัฒนธรรม
  3. Mobillize Through leaders – จัดทัพผู้นำ ซึ่งเป็นอันที่ ceo ต่างให้ความสำคัญมากที่สุด
  4. Engage the board – บริหารความสัมพันธ์กับบอร์ด ใช้คำว่า Engage แทนการบริหาร เพราะเราไม่สามารถบริหารบอร์ดได้
  5. Connect with stakeholders – ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งพนักงาน ประชาชน รัฐบาล นักลงทุน เมื่อก่อนไม่ต้องทำแต่ปัจจุบันมีสื่อและ social media
  6. Manage personal effectiveness – บริหารตัวเองยังไงให้มีประสิทธิภาพ

CEO ส่วนใหญ่ยัง Gap

สิ่งที่ขาดและเป็นช่องโหว่ คือ เรื่องของการจัดทัพผู้นำ (ข้อ 3) และ บริหารความสัมพันธ์กับบอร์ด (ข้อ 4) ที่มักจะขอให้มาช่วยเทรน/โค้ช ส่วนด้านการคอนเนคกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ข้อ 5) ส่วนใหญ่มองว่ามันขึ้นอยู่กับบริบทและสถานการณ์

แต่สำหรับฝั่งเอเชียรวมทั้งไทยเอง 🇹🇭 ยังขาดเรื่องของ “Manage personal effectiveness (ข้อ 6)” แต่ทำได้ดีเรื่องของ Set direction (ข้อ 1)

เพราะเรามองเรื่อง growth oriented แต่ทุ่มเทและทำงานหนักให้กับองค์กรจนลืมมองตัวเอง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะวัฒนธรรมฝั่งเอเชีย

Challenge ที่มากระทบกับ CEO

  • Geopolitics ภูมิรัฐศาสตร์
  • Economic downturn
  • Technology ที่เปลี่ยนเร็วมากจนตามแทบไม่ทัน เช่น GPT4o
  • Sustainability ความยั่งยืน – เมื่อ 5 ปีก่อนทุกคนรู้สึกไกลตัว
  • Talent war

แม้ความท้าทายเหล่านี้จะเข้ามา แต่ CEO ยังต้องทำ 6 สิ่งนั้นอยู่แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ

“ทำสิ่งเหล่านี้ยากขึ้นและสร้างความท้าทายมากขึ้น ”

เช่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมีผลเยอะมากขึ้น เช่น ถ้าเราปล่อย CO2 คนก็จะมาบ่น ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่จะเข้ามาอีกและมาเร็วขึ้นเรื่อยๆ

ทำให้ ceo มีเรื่องใหม่ให้เรียนรู้ ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา และกระหายที่จะเรียนรู้ 📚

ยิ่งอาวุโส ยิ่งอยากเรียนรู้ มันสำคัญมากที่จะต้องรู้เพียงพอที่จะนำองค์กรและตัดสินใจ

การวางเป้าหมายให้องค์กรเมื่อก่อนรู้แค่ภายใน นำคนได้ก็พอแล้ว แต่ปัจจุบันต้องนำด้วยเทคโนโลยีได้ด้วย

เจาะลึกประเด็น

TECHNOLOGY

เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว อาจทำให้บริษัทเราจากที่มีอยู่กลายเป็นไม่มีอยู่ ส่งผลกระทบเร็ว แรง และร้อนขึ้น

The Chief executive of an Indian startup laid off 90% of his support staff after the firm built a chatbot powered by artificial intelligence. – CNN, 12 July 2023

การตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ จะมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น ต่างจากเมื่อก่อนที่ยังพอมี business usecase แต่ปัจจุบันต้องคิดทันทีว่าจะทำอย่างไร เช่น Nvidia ที่ทุกคนพูดถึง ควรไปจับมือไหม แต่ถ้า AMD หรือ Google ทำแซงขึ้นมาละ เราอาจลงทุนสิ่งที่แพงไปก็ได้

.

“ต้องมีวิสัยทัศน์ ต้องกล้า และบริหารความเสี่ยงได้”

.

GEOPOLITICS

CEO ส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ เพราะด้านภูมิศาสตร์ส่งผลต่อเศรษฐกิจ และรุนแรง อย่างข่าวที่อินโดนีเซียจ่อเก็บภาษีสินค้าจากจีน 200% พอเป็นแบบนี้ก็ส่งผลมหาศาล

เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ต้องประเมิน Scenario ถ้าไม่ประเมินอาจไม่ได้รับการลงทุน เพราะมันอาจเปลี่ยนจากขาวเป็นดำ และขาดทุนได้ทันที

รูปแบบ

  • คาดเดาได้ เช่น อเมริกากับจีน
  • คาดเดาไม่ได้ เช่น สงครามที่อยู่ดีๆเกิดขึ้นมา

เตรียมพร้อมด้วยการ “ลดความเสี่ยง” เช่น ใช้ค่าเงินอะไรในประเทศแบบไหน เลือกใช้ค่าเงินที่มีสเถียรภาพ เหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งที่มีเกี่ยวกับค่าเงิน

SUSTAINABILITY

เมื่อก่อนคนยังไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันมีสัมมนาเรื่องนี้แทบทุกสัปดาห์ องค์กรใหญ่รับรู้และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ บางองค์กรมีตำแหน่ง Chief Sustainability Officer โดยเฉพาะ

ซึ่งประเด็นนี้ถูกหยิบมาใช้พิจารณาเวลาจะให้กู้เงิน ทั้งในต่างประเทศและไทยเองก็กำลังเริ่มมีประเด็นนี้ (7 สิงหาคม ธปท. มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเงินทุนให้ภาคธุรกิจ ปรับตัวไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม)

.

ใครตื่นตัวก่อนจะเป็น “โอกาส”

.

บริษัทเล็กอาจคิดว่ามันไกล แต่ถ้าเราทำเรื่องนี้ได้ก่อนก็จะมีความสามารถในการแข่งขัน อย่างบริษัทเล็กอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Supply Chain ขององค์กรที่ต้องทำด้าน sustain ก็จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Carbon Emission Scope 3 หรือ ถูกมองเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมด้วย

TALENTS

อีกประเด็นนึงที่เกิดขึ้นมาตลอด และเป็นปัญหาที่ยากตลอดที่ผ่านมาอยู่แล้ว ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเยอะมากนัก จากประเด็นต่าง ๆ จะเห็นได้เลยว่า หนึ่งในสิ่งที่ CEO ต้องมีคือ

.

ความกระหายที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต

.

สรุปจาก “คู่มือสร้างสุดยอดซีอีโอระดับโลกฉบับ McKinsey | CEO Priorities EP.1” ติดตามฟังฉบับเต็มได้ที่ https://youtu.be/1-x897cxu30?si=Jbx8uWd2GknYZy7f

.

ส่วน EP ถัดไปจะพูดถึง Mindset รอติดตามเลยค้าบ

Leave a comment