Skip to content Skip to footer

แชร์เรื่องราว HOW TO สร้างคอมมูนิตี้

แชร์เรื่องราว HOW TO สร้างคอมมูนิตี้ สรุปเนื้อหาจากงาน Community Builder Meetup #7: “Tech Community Builders: Insights & Inspirations” .

งาน Community Builder Meetup เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้คอมมูนิตี้ต่าง ๆ ได้มาเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ในการสร้างคอมมูนิตี้กัน (ไม่ได้จำกัดเฉพาะสาย Tech เท่านั้น) ซึ่งงานในครั้งนี้ได้รวบรวม Speakers ตัวตึง ตัวแทนจาก 5 คอมมูนิตี้: PM Corner, UX Thailand, Firebase Thailand, Women Techmakers Bangkok, Creatorsgarten มาพูดคุยถึงประเด็นต่าง ๆ

.

📌 จุดเริ่มต้นที่หลากหลาย แต่ความตั้งใจเดียวกัน

ในแต่ละคอมมูนิตี้นั้นมีจุดเริ่มต้นในการสร้างขึ้นมาที่อาจจะแตกต่างกัน บ้างอาจเกิดจาก Pains points ที่ประสบพบเจอ บ้างเกิดจากแรงบันดาลใจ (Inspiration) แต่สิ่งเหล่านี้นำพาให้เกิดคอมมูนิตี้ต่าง ๆ เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละ Speakers ได้มาแชร์เรื่องราวถึงจุดเริ่มต้นให้ฟัง…

  • พี่แบงค์ จาก UX Thailand: มองว่าอยากทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ได้แบ่งปันและสร้างสรรค์สิ่งที่มีค่า ทำให้มีผู้คนที่มีความสนใจ หรือคิดเหมือนกันวิ่งเข้าหากัน มารวมตัวกันแล้วเกิดเป็นคอมมูนิตี้นี้ขึ้น
  • พี่เซปจาก PM Corner: เกิดจากมีน้องที่สนิทเข้ามาปรึกษาสายงาน PM แล้วอีกส่วนนึงก็เห็นว่าฝั่ง Tech เองก็มีคอมมูนิตี้ แล้วฝั่ง Product เราไม่มีบ้างหรอ ก็เลยลองเริ่มจากกิจกรรมเล็กๆ Coffee Chat ที่โพสลง FB แล้วปรากฎว่ามีคนสนใจอย่างมาก พอทำไป 2-3 รอบก็เห็นว่าตรงนี้มี demand ก็เลยอยากให้มีพื้นที่นี้เกิดขึ้นและอยากผลักดันให้ทุกคนมี Product Mindset อยากผลักดันวงการ Product Management ในไทย
  • พี่ไทจาก Creatorsgarten: แต่ละคนในทีมจะมีนิยามที่แตกต่างกันในการจัด แต่สำหรับพี่ไทมองว่ามันสนุก ซึ่งงานแรกมาจากการที่ pains จากการไปเข้าร่วม Hackathon ที่อื่นแล้วส่วนใหญ่ไม่ได้เขียนโค้ดเพราะต้องทำสไลด์นำเสนอก็เลยอยากจัดงานกันเองขึ้นมา ชื่องานว่า Stupid Hackathon ที่ให้เดฟได้โค้ดโชว์ฝีมือจริง ๆ
  • Women Techmakers: ได้ Inspire จากการที่ตัวเองได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรม Grace Hopper Celebration ซึ่งเป็นงานเทคที่รวมผู้หญิงมาได้มากถึง 10,000 คน แล้วพอได้คุยกันรู้สึกว่าสบายใจและสนิทกันได้เร็ว แล้วเห็นว่ามีกลุ่ม Women Techmakers ซึ่งเป็นโครงการของ Google อยู่ก็เลยสนใจอยากสร้างคอมมูนิตี้ผู้หญิงในสายเทคในไทยขึ้น
  • Firebase Thailand: จุดเริ่มต้นเกิดจากมีโอกาสได้ไปพูดแชร์ประสบการณ์ที่มหาลัย แล้วรู้สึกสนุก แต่ถ้ารอรับเชิญก็เหมือนต้องรอโอกาส ทำไมเราไม่สร้างขึ้นมาเอง และสร้างพื้นที่ที่ให้คนอื่นได้พูดด้วย . มองว่าสิ่งที่ทำมันเป็นความสุขรูปแบบหนึ่ง ถ้าเราทำ Consumer Product ความสุขของเราจะเกิดจากภูมิใจที่เห็นคนใช้ แต่การทำคอมมูนิตี้ ก็ได้ความสุขอีกรูปแบบหนึ่งที่เวลาเราเห็นมีคนแชร์ มีคนมาขอบคุณหลังไมค์ หรือทำให้เขาได้เรียนจบ รู้สึกสิ่งเหล่านี้มันมีความหมาย

.

การเปิดคอมมูนิตี้ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นแค่สิ่งที่เรารู้แล้วหรือเชี่ยวชาญ แต่อาจเปิดคอมมูนิตี้เพื่อสิ่งที่เราสนใจหรืออยากรู้ก็ได้ เราอาจจะแค่อ่านหนังสืออะไรบางอย่างแล้วชวนคนมาคุย เป็นเหมือนตัวแทนที่สนใจเรื่องนั้นโดยไม่ได้จำเป็นต้องเป็น Expert ก็ได้

.

🩷 หัวใจของคอมมูนิตี้ คือคน อยากพบเจอคน อยากเจอคนใหม่ๆ ได้กลับมาพบเจอกันแลกเปลี่ยนกัน

.

.

🗓️ DAY 1 ทำไงดี ?

“How ไม่สำคัญเท่า Why”

.

สิ่งสำคัญในวันที่อยากเริ่มทำคอมมูนิตี้นั้นไม่ใช่ว่าทำอย่างไร แต่ทำไปทำไม เรามี Community นี้ไปเพื่ออะไร

.

คำว่า คอมมูนิตี้ หมายถึง กลุ่มของคนที่มีความสนใจ เป้าหมาย หรือคุณค่าที่เหมือนกัน และมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด หรือประสบการณ์ ไม่จำเป็นต้องใหญ่หรือมีคนเยอะ จริง ๆ 2 คนก็นับเป็นคอมมูนิตี้แล้ว ขอแค่เราอยากทำและกล้าที่จะทำสิ่งนี้ หาคนที่อินกับเรื่องนี้

.

ก้าวแรกมันยากเสมอ แต่ถ้าได้เริ่ม เดี๋ยวจะมีทางไปของมันเอง

.

.

📌 Challenge ที่เจอในคอมมูนิตี้

ในแต่ละคอมมูนิตี้ก็จะเจอความยากและความท้าทายในการทำคอมมูนิตี้ที่แตกต่างกัน

.

🔥 Challenge #1 เติมไฟ สร้าง Passion ในคอมมูนิตี้ยังไง

บางครั้งระหว่างทางเราอาจรู้สึกเหนื่อยและอาจ Burnout ไปบ้าง แต่สิ่งนี้จะอยู่ได้นานไหมอยู่ที่ passion อยู่ที่คนสนใจ บางทีการคิดบวกก็ช่วยให้เรามีแรงต่อไปได้เช่น คิดไปก่อนว่าโพสหรือบทความต่อไปจะมีคนรออ่าน จะสร้างประโยชน์ให้กับคนเยอะมาก

.

อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือการทำ networking จริงๆไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอะไรยุ่งยากเลย เราแค่ชวนคนเข้าร่วมงานไปทานข้าวร่วมกันแล้ว Networking บนโต๊ะอาหาร พยายามเบลอเส้นระหว่าง staff และผู้เข้าร่วมงาน บางทีเราอาจได้ไอเดียหรือได้ทีมจัดครั้งถัดไปจากตรงโต๊ะอาหาร อย่างฝั่ง Creatorsgarten เวลาไปร้านไหนก็จะตั้งเป็นกิมมิคเช่น bingsu.js, แจ่วฮ้อน.js ซึ่งคนที่เป็น Introvert ไม่ใช่ไม่พูดแต่บางทีเขาชอบพูด Deep Talk ในวงเล็ก ๆ หลายคนมีไฟ แต่แค่เราอาจไม่เคยรู้จักเขา ซึ่งหลายรอบที่ได้คนจัดกลุ่มถัดไปจากตรงนี้

.

หรืออย่างใน UX Thailand เราเรียนรู้ที่จะคุมไฟ ดับไฟและเติมไฟ ผ่านการสร้างประเด็นให้เกิดการถกเถียงพูดคุยในกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแชร์แสดงความคิดเห็นกัน ซึ่งบางทีอาจจะเป็นประเด็นที่คนอาจเห็นต่างกัน มีคนพยายามที่จะอธิบายให้อีกฝ่ายเข้าใจ ซึ่งเราเชื่อว่าคนในคอมมูก็อยากให้คอมมูนิตี้นี้ดีขึ้น ซึ่งการสื่อสารนั้นควรเป็นแบบการสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication) ที่เสริมสร้างความเข้าใจ

.

🔥 Challenge #2 เงิน เรื่องใหญ่ที่อาจมองข้ามไม่ได้

อีกส่วนที่อาจเป็น Challenge ใหญ่คือเรื่องเงิน เพราะบางทีอาจต้องใช้สถานที่ หรือมีการใช้ของบางอย่างเพื่อจัดงานขึ้น ซึ่งการรับเงินจะมีหลายสิ่งที่ตามมาคือ ใครถือบัญชี จัดการกับเงินหรือภาษีอย่างไรถ้ายอดมันใหญ่ แล้วถ้าต้องสำรองจ่ายละ ซึ่งหลายคอมมูนิตี้พยายามไม่ใช้เงิน ถ้าต้องใช้ก็ใช้เท่าที่จำเป็น หรืออีกรูปแบบนึงที่จัดการได้คือทำเป็น Cashless ไม่รับเงินสปอนเซอร์เลย ถ้าอยาก support ก็ให้เป็นของหรืออาหารมา จะทำให้จัดการง่ายกว่า หรือถ้าต้องรับเงินก็ควรทำให้ Transparent แต่ถ้าอยากจัดการจริงจังก็อาจหาบริษัทที่มาช่วยจัดการหรือดูแลเรื่องนี้ให้

.

🔥 Challenge #3: ปัญหาคนกระจุก / คนเท

หลายคอมมูนิตี้มักจะเจอปัญหาที่คนทำงานอาจจะกระจุกตัวกันกลุ่มเดิม หรือบางคนอาจจะเข้ามาช่วยจัดแต่ถึงเวลาจริงหาย ซึ่งความยากนี้ส่วนนึงเกิดจากที่มันไม่ได้มีหน้าที่ที่ชัดเจน และคงทำ commitment เหมือนในที่ทำงานไม่ได้ เพราะเป็นงานอาสาหรืองานฟรี

.

ส่วนสำคัญที่ช่วยได้คือ การกำหนดทิศทาง (Direction) ให้ชัดซึ่งถือเป็นกระดุมเม็ดแรก แล้วออกแบบ job design หรือรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม และ commit ได้ง่าย อย่างใน PM Corner จะมีกลุ่มนึงที่ commit เป็นระดับปี ดูงานแนว manage ภาพรวม แล้วกำหนด direction และโจทย์ให้กลุ่ม volunteer ไปทำต่อ เพื่อสร้าง ownership และ trust ให้กับทีม

.

ซึ่งเราต้องบริหารจัดการความคาดหวัง (Manage Expectation) โดยเริ่มจากฟังเสียงของคนในคอมมูนิตี้ ดูว่าคนสนุกกับสิ่งนี้ไหม แล้วได้อะไรกลับไป บางทีเราอาจถามคนในคอมมูว่าเขาอยากทำอะไรแล้วให้เขาได้มีโอกาสได้ทำขึ้นมา โดยที่เราเป็น support หรือ Facilitator ก็ได้

.

อีกสิ่งที่ควรทำคือ Provide share resources ต่าง ๆ อย่าง Documentation หรือ Wiki แม้มันเป็นงานที่เหนื่อยอต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ อาจใช้ Tools ง่าย ๆ อย่าง Google Drive ก็ได้ หรือจะใช้ Notion เพื่อช่วย Unblock ในการทำงานให้กับเขาแล้วเห็น Feedback ต่าง ๆ ที่เคยทำมา และจะได้เป็นการฝึกให้คนในคอมมูมาจัดอีเวนท์

.

.

⭐️ เมื่อคอมมูนิตี้โตขึ้นก็จะเปลี่ยนแปลงตามเวลา

บางทีเราอาจไปยึดติดกับคำว่า คอมมูนิตี้ แล้วต้องทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ตามแผนที่วางไว้ แต่อยากให้มองถึงสิ่งที่เราอยากจะทำประโยชน์มากกว่า เพราะตอนที่เราวางแผนไว้มันอาจเป็นช่วงที่เรามีความรู้น้อยที่สุด ให้พัฒนาและปรับไปเรื่อยๆ ให้มี agility แล้วสนุกกับมัน

.

.

ท้ายสุดนี้ฝาก Tips 3 ข้อ

1️⃣ ดูแลคอมมูนิตี้เหมือนคนรัก

เหมือนเวลาเราไปจีบใครสักคนที่เราต้องการความสม่ำเสมอ (consistency) ควรโพสบนเพจอย่างสม่ำเสมอเรื่อย ๆ เพื่อให้เขารู้ว่าเรายัง Take care และรักเขาอยู่เสมอ

.

2️⃣ หาความภูมิใจให้เจอ

ยิ่งทำเราอาจ burnout ไปเรื่อย ๆ ลองหาความภูมิใจดู จะทำให้เราไม่รู้สึกเบื่อหน่ายและมีแรงสู้ต่อไป แม้อาจจะยังไม่ได้ในตอนนี้ แต่วันนึงจะมีอะไรกลับมาให้เราภูมิใจเอง ถ้าเปรียบกับการกินข้าว กินข้าวแปปเดี๋ยวก็หิว แต่ความภูมิใจสร้างแล้ว กินได้ตลอดชีวิต ฉะนั้นแล้ว “ยิ่งให้ยิ่งได้รับ” .

3️⃣ มุ่งมั่นในสิ่งที่เชื่อ แล้วไปให้สุด

“a technology without community has no meaning” – เทคโนโลยีที่ไม่มีคอมมูนิตี้ก็เป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีประโยชน์

Leave a comment