เซฟมีโอกาสได้ลงเรียนคลาสเรียน Business Psychology ซึ่งเป็นคอร์สอบรมระยะสั้นของทางภาควิชาพาณิชยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับคณะจิตวิทยา จุฬาฯ ซึ่งเนื้อหาใน Week 6 เป็นเกี่ยวกับ Positive Psychology for Business โดยอ.ภูมิ (Thiraput Pitichat) อาจารย์จาก Commerce Department – Chulalongkorn Business School ซึ่งมีความน่าสนใจมากพูดถึงจิตวิทยาเชิงบวก เลยสรุปมาฝากครับ
- ความสุข คือ ทำอะไรสนุกๆ เกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่บางทีเราก็ลืมมันไป บางทีเราใช้ชีวิตเร่งรีบจนความสุขผ่านไปเร็วเกินไป เช่น ความสุขชอบกินกาแฟ แต่พอต้องไปทำงานต่อทำให้เราลืม ⇒ อย่าลืมดื่มด่ำกับสิ่งที่ทำ
- มนุษย์เราเก่งเรื่องการปรับตัว ทั้งทุกข์และสุข รับมือกับมัน เช่นเดียวกับความสุข บางเรื่องเราสุขมาก แต่สักพักไม่สุขมากเท่าแต่ก่อนเพราะบาร์มันสูงขึ้น
- 3 คำที่อยากให้ลองนึกถึงคือ Joy (สนุก), Engagement (อินที่สุด อยากทำอีก), Meaning (ทำแล้วมีคุณค่า)
- คำว่า hedonism (เฮโดนิสม์) หรือ ลัทธิเสพสุข เป็น “แนวคิดเน้นความสุขสำคัญที่สุด” หมายถึงปรัชญาที่เชื่อว่าความสุข ความพึงพอใจ และความเพลิดเพลินคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต
- ถ้ามีแค่สนุก (Joy) อย่างเดียว แปปๆมันอาจจะหายไป เราเลยต้องมาคุยในมุมที่เราอิน (Engagement) ซึ่งสิ่งที่เราอินส่วนใหญ่เป็นเรื่องงานที่ทำและกิจกรรมที่ชอบ
- Meaning (ทำแล้วมีคุณค่า) = ทำเพื่อคนอื่น คุณค่า 90% คนจะพูดถึง Impact เพื่อคนอื่น ข้อดีของคุณค่าคือแค่คิดก็มาแล้ว ซึ่งข้อแตกต่างคือ Joy เราต้องทำ เพราะแค่นึกมันไม่มา แต่ Meaning แค่คิดก็มาแล้ว
- Hedonic Treadmill – เหมือนคุณวิ่งอยู่บนลู่วิ่ง (treadmill) – เหมือนคุณวิ่งอยู่บนลู่วิ่ง (treadmill) เมื่อเราประสบความสำเร็จ ซื้อของใหม่ หรือได้เลื่อนตำแหน่ง เราจะรู้สึกมีความสุข… แต่ไม่นาน ความรู้สึกนั้นจะลดลง และเราจะกลับมารู้สึกเหมือนเดิมอีกครั้ง
- Well Being = ต้องมีทั้งสุขและคุณค่า
- Positive Psychology = “A scientific study of what makes life most worth living” ศึกษาทำให้ชีวิตมันน่าใช้ทั้งมีความสุขและมีคุณค่า
- สนใจกับจุดแข็งและให้ความสำคัญมากกว่าจุดอ่อน / จุดแข็งถ้ามันมากพอจะไปปิดจุดอ่อนได้ จะดีกว่าไหมถ้าทำให้องค์กรน่าอยู่และมีคุณค่า
- Organization Psycho เกิดจากที่ต้องการเอาคนไปรบ ทำให้ต้องเตรียมคนที่พร้อม
- Clinical Psychology (แก้โรค) <——> Positive Psychology (ยกระดับคนทั่วไป)
- Positive Psychology = ศึกษาเรื่องของคนที่มีความสุข
Theory1: Flow (สภาวะลื่นไหล)
โดย มิฮาย ชิกเซนต์มิฮายยี
- What was their experience in their peak performance? (อะไรคือประสบการณ์ของคนที่มี Peak Performance)
- อยากถอดประสบการณ์จากนักกีฬาโอลิมปิก, นักดนตรีระดับโลก เพื่อให้เกิดกับคนทั่วๆไป
- ESM (Experience Sampling Method) = เก็บประสบการณ์เป็นจุดๆ ตอนนั้นเขาให้ผู้เข้าร่วมติด Pager ไว้ วันๆนึงเขาจะโยนสัญญาณให้ 7-8 ครั้ง เพื่อให้จำเหตุการณ์นั้นไว้ แล้วพอมีเวลาให้จดไว้ จาก Flow สภาวะที่ลื่นไหลที่คนจำไม่ได้ ก็เลยได้ข้อมูลมา ตัวอย่างที่ทำ 7 ครั้งต่อ 1 วัน ครั้งละ 10 คำถาม
- ถ้าทำอะไรบางอย่างแล้วเวลาไหลไปอย่างรวดเร็ว
- Flow ⇒ มีความเชี่ยวชาญ ทำซ้ำๆ จนมีสกิล + มีความท้าทาย (ยาก)
- Last Time in the Zone ? แล้วล่าสุดที่เราอยู่ในสภาวะ Flow นี้คือเมื่อไหร่
Flow State
- โซนสีแดงคือยากเกินไป เครียด กังวล → ลดความยาก หรือเพิ่มทักษะ
- โซนสีน้ำเงิน ง่าย เบื่อ → ให้เพิ่มความยาก หาความท้าทายใหม่
- Flow ไม่ได้ Stable อยู่ตรงกลางเสมอไป


- กิจกรรมที่ทำมันสามารถหา Flow ได้หมด เช่น ขับรถใหม่ๆ เป็น RedZone แต่พอขับไปนานๆก็เป็น Too Easy แต่ถ้าหาเส้นทางใหม่ๆ ก็เป็น Flow Channel
- ถ้าเราสามารถทำให้ตัวเราและทีมงานเราเข้าสู่ภาวะ Flow ได้บ่อยๆ จะมีสุขภาวะที่ดีขึ้นและ Ego ลดลง (ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน)
- Try to be a master of Their Craft
- คำถามสำคัญคือ อะไรคือสิ่งที่จะทำให้เกิด Flow หรือ Distraction ไม่เกิด Flow
- ซึ่งจะต่างกับคำว่า Transportation ในเชิงจิตวิทยา (โดยเฉพาะในบริบทของการเล่าเรื่องหรือ narrative psychology) หมายถึง กระบวนการที่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน “ถูกพาเข้าไป” อยู่ในโลกของเรื่องราวนั้นอย่างเต็มที่ จนเกิดความรู้สึกร่วม คล้อยตาม หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมของตัวเองหลังจากรับฟังหรืออ่านเรื่องนั้นจบ
- แนะนำกันพื้นที่ให้กับพนักงาน 20% ทำอะไรก็ได้ เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับงานก็ได้ เช่นสัปดาห์นึง 2 ชม. ช่วยลดความเครียดและ Burnout ได้ สิ่งที่ขัดขวางคือการต้องเติบโตตลอดเวลา เครียด กังวล
- เด็กรุ่นใหม่ หลุดจาก Flow ได้ง่ายมาก
- อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ Feedback ที่ทำให้เรารู้ว่าเรายังไม่ดีพอ
- Focus อย่างเดียวอาจจะไม่ได้เกิด Flow เพราะอาจจะเครียดไม่มี Challenge
- Case Study:
- Spotify แบ่งพนักงานออกเป็น “Squads” ที่เหมือนทีมสตาร์ทอัปย่อยในบริษัทใหญ่ ส่งเสริม ความเป็นเจ้าของ (ownership) และ ความท้าทาย (challenge) ซึ่งเหมาะสมกับการสร้าง Flow
- Rituals to Minimize Distractions: “No Meeting Wednesdays” หรือ “Focus Fridays” – ไม่มีประชุมวันพุธเพื่อให้พนักงานได้ Flow
- Spotify เน้นให้พนักงานมี freedom with accountability
- หลายธุรกิจพยายามมอง Maximize Profit แล้วมองคนเป็นทุน (Capital) ทำให้เวลาต้องตัดเลยตัดงบเรื่องคนเช่น Training
- เรื่องคนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ไม่สามารถเห็นผลได้ทันที
- แต่ถ้าเราทำ Good Business คือทำให้คนโตและธุรกิจโตไปด้วยกันได้
Theory2: Hope Theory (ทฤษฎีความหวัง)
by Professor Martin Seligman
- เรียนรู้ที่จะสิ้นหวัง (Learned Helplessness)

- มีการทดลองกับน้องหมาโดยเอาหมาไปอยู่ในกล่องปิดที่ออกไม่ได้แล้วใช้กระแสไฟฟ้าช็อต ทำให้โดดข้ามฝั่งเพื่อไม่ให้โดนช็อตซึ่งแสดง น้องหมามี Instinct ที่จะเอาตัวรอด ต่อมาทำให้กำแพงสูงจนข้ามไม่ได้ ต่อมาย้ายไปอีกกล่องที่เตี้ยกว่า ซึ่งคราวนี้แม้ข้ามได้แต่หมาไม่โดดข้ามแล้ว
- บางทีมี Norm บางอย่างที่สิ้นหวัง ทำให้คนที่แม้มีไฟแต่เมื่ออยู่ในองค์กรบางองค์กรก็ Burnout ได้
- ความสิ้นหวังถูกตั้งโปรแกรมได้ แล้วความหวังพูกตั้งได้ไหม
- เรียนรู้ที่จะมองโลกเชิงบวกได้ไหม
- Hope = “persevering toward goals and, when necessary, redirecting paths to goals (hope) in order to succeed”
- การจะสร้างให้คนมีความหวังต้องมี 3 องค์กรประกอบ
- Goal: มีเป้าหมายที่อยากจะไปให้ถึง อาจจะน่าตื่นเต้น น่าสนใจ
- Willpower: พลังใจ Motivation ที่อยากจะทำ ซึ่งในเชิงจิตวิทยาเรียกว่า Agency ที่จะพาไป เช่น ไป Outing
- Waypower : เส้นทางสู่เป้าหมาย แผนที่จะไปถึงเป้าหมาย เช่น มีทีม Support
- ถ้าอยากกระตุ้นให้กับทีมงานในองค์กร ต้องมี 3 สิ่งนี้ เช่น ทำให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ใช่แค่ให้งานให้เป้าหมาย แต่ต้องมี Resources ที่ทำให้เกิดได้ด้วย
- บางทีเราลืม เราให้งานเต็มไปหมดเลย เราสามารถเพิ่ม Willpower, Waypower ได้ไหม
- Case Study: Netflix ‘Hopeful’ มากกว่า Blockbuster เพราะมีการเปลี่ยน Goal ทำให้ได้ Willpower ใหม่
- Hopeful businesses aren’t just optimistic. They are strategic. – ไม่ใช่มองแค่ทุกอย่างเป็นแง่ดี แต่มองเป็นกลยุทธ์ได้
- Hope ไม่ใช่คาดหวัง แต่คือการมีหวัง แล้วต้องสร้าง Resources
วิธีการพัฒนา Hope
- การตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
- อาจจะใช้ Design Thinking มาช่วยให้มีวิธีการที่หลากหลายที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย
- แบ่งเป้าหมายย่อยให้สามารถทําสําเร็จได้ง่ายขึ้น
- การวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน/อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
- ดึงผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วมกับสิ่งที่เราอยากทํา
- Rituals พิธีกรรม สิ่งที่ทําเป็นประจํา สร้างระบบ – ทำให้คนไม่ต้องมากังวลกับเรื่องเล็กๆ ทำเรื่องยากให้ซ้ำๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำสิ่งที่ยากในองค์กรให้เป็นระบบให้ได้
- ระบบรางวัลจูงใจ
Theory3: Positive Psychological Capital (PsyCap)
- มี Resources เชิงบวกที่ควรถูกสร้าง ซึ่ง Hope เป็นหนึ่งใน Capital ที่ควรสร้าง

- เดิม Capital เรามักจะคุยเรื่องเงิน ต่อมาเรื่องของการจ้างคน (Human) > Social Capital (สานสัมพันธ์เข้าคอร์ส)
- ต้นทุนทางใจ ทางความรู้สึก เป็นสิ่งที่ท้าทาย และต้องใช้เวลาสะสม
- ตัวเราในฐานะ Leaders จะทำอย่างไร
- PsyCap เป็น 4 Resources เชิงบวก
- Hope ต้องมี The will & the way
- Efficacy – มั่นใจในสิ่งที่ต้องทำ (Confidence) เราสามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกน้องในการกล้าที่จะคิดและทำได้ไหม
- Resilience – ล้มแล้วก็ลุกขึ้นมาใหม่ (Bouncing back & beyond)
- Optimism – มองโลกตามความเป็นจริง และยืดหยุ่น
Theory4: Well-being Theory (ทฤษฎีสุขภาวะ)
องค์ประกอบหลักของ Well-being หรือ “ชีวิตที่มีคุณภาพและความสุขอย่างแท้จริง” ซึ่งประกอบด้วย 5 เสาหลักสำคัญที่ทำให้ชีวิตเรามีความหมายและสมดุลมากยิ่งขึ้น
- Positive Emotions – อารมณ์เชิงบวก
Pleasant Life – การได้สัมผัสกับประสบการณ์เชิงบวก เช่น ความสุข ความเบิกบานใจ ความซาบซึ้ง การมองโลกในแง่ดีและรู้สึกดีกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันช่วยเพิ่มพลังใจและความมั่นคงทางอารมณ์ - Engagement – การมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้ง
Engaged Life – อินไปกับสิ่งที่ทำ รู้สึกว่าตัวเอง “ไหลลื่น” (Flow) กับกิจกรรมที่ทำอย่างเต็มที่ สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อเราทุ่มเทให้กับงานหรือกิจกรรม จนลืมเวลาและสิ่งรอบข้าง เป็นการหลุดเข้าไปในภาวะลื่นไหล - Relationships – ความสัมพันธ์ที่ดี
Relational Life – ความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพและการเชื่อมโยงกับผู้อื่น มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการความรัก การสนับสนุน และความสัมพันธ์กับชุมชนหรือกลุ่มที่เราเป็นส่วนหนึ่ง - Meaning – ความหมายในชีวิต
Meaningful Life – การมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง เช่น การทำเพื่อผู้อื่น หรือเพื่อสังคม การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตนี้มีความหมายและมีจุดมุ่งหมาย - Accomplishment – ความสำเร็จในชีวิต
Accomplished Life: ความสามารถในการตั้งเป้าหมายและมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ การฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง การเอาชนะอุปสรรค และการเห็นพัฒนาการของตนเองทำให้เกิดความภูมิใจและเติมเต็มชีวิต